บูสต์ภูมิด้วย "วิตามินซี" ด่านแรกของร่างกาย ป้องกันเชื้อโรคตัวร้ายและไวรัส
เรียบเรียงโดย ดร.ภญ.อโนมา เจริญทรัพย์
Blackmores Institute
การเสริมสร้างสุขภาพที่ดีมักเริ่มต้นได้จากการใส่ใจ “โภชนาการ” เป็นหลัก ไม่ใช่แค่อาหารประเภทเนื้อสัตว์ และคาร์โบไฮเดรตเท่านั้น แต่ตามหลักโภชนาการ 5 หมู่ สารอาหารวิตามินและเกลือแร่จากผักและผลไม้นั้น ถูกจัดให้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเช่นกัน "วิตามินซี" หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ascorbic acid” เป็นวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ และไม่เก็บสะสม ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับจากการรับประทานทุกๆ วัน
ร่างกายควรได้รับวิตามินซีต่อวันเท่าไร?
จากปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 กำหนดปริมาณวิตามินซีที่ร่างกายต้องการอย่างน้อยต่อวันในผู้ใหญ่สุขภาพดี ที่ 70-100 มก.ต่อวัน อย่างไรก็ตาม ในสภาวะแวดล้อมปัจจุบัน ที่มีมลพิษมากมาย อีกทั้งมีเชื้อโรคทางเดินหายใจ มากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายมีวิตามินซีที่เพียงพอในการเสริมภูมิคุ้มกัน โดยในทางศาสตร์ชะลอวัย และงานวิจัยส่วนใหญ่ มีการใช้วิตามินซีวันละประมาณ 1,000 มิลลิกรัม ทั้งนี้วิตามินซีสามารถละลายในน้ำได้ดี ดังนั้นหากรับประทานเกินความจำเป็น ร่างกายสามารถขับออกเองได้ และแนะนำว่า ไม่ควรรับวิตามินซีสูงมากเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลานาน หากไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์
ประโยชน์และคุณสมบัติที่ร่างกายจะได้รับจากวิตามินซี
นอกจากระบบภูมิคุ้มกันแล้ว วิตามินซียังมีส่วนช่วยเสริมสมดุลจุลินทรีย์ รวมไปถึงกระบวนการดูดซึม และยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดโรคได้อีกด้วย โดยคุณสมบัติที่ร่างกายจะได้จากการรับวิตามินซีอย่างต่อเนื่องมีดังนี้
1. ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง หากร่างกายได้รับอนุมูลอิสระจำนวนมากและมีสารต้านอนุมูลอิสระไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดภาวะ oxidative stress ซึ่งเชื่อมโยงกับโรคเรื้อรังหลายชนิด วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาพบว่าการเสริมวิตามินซีเป็นประจำ ช่วยเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดได้มากถึง 30%
• งานวิจัยศึกษาผลของวิตามินซี และต้านอนุมูลอิสระ พบว่าการใช้ วิตามินซี 1000 มก ต่อวัน* ต้านอนุมูลอิสระ โดยลดตัวชี้วัดที่แสดงถึงภาวะ oxidative stress (ภาวะที่ร่างกายมีสารอนุมูลอิสระมากกว่าสารต้านอนุมูลอิสระ)
* ใช้ผลิตภัณฑ์วิตามิน ซี จากแบลคมอร์สในงานวิจัย
2. เสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยกระตุ้นการผลิตและการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ช่วยเสริมสร้างผิวหนังให้แข็งแรงช่วยป้องกันเชื้อโรค และยังทําหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
• งานวิจัยศึกษาผลของวิตามินซีกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน พบว่าการใช้ วิตามินซี 1000 มก ต่อวัน* ในผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยช่วยทำให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ดีขึ้น
3. ช่วยควบคุมความดันโลหิตสูง
จากงานวิจัย Meta-analysis ที่รวบรวมงานวิจัยถึง 8 งานวิจัย (RCTs) เพื่อศึกษาผลของวิตามินซีกับภาวะความดันโลหิตสูงที่ได้รับการรักษามาตรฐาน พบว่ากลุ่มที่เสริมวิตามินซี มีความดันโลหิตต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และพบผลที่เด่นชัดที่ระยะเวลา ≥6 สัปดาห์ และขนาดวิตามินซี ≥ 500 มก. ต่อวัน
งานวิจัย meta-analysis อีกฉบับ ศึกษาผลของวิตามินซี ขนาด 1000 มก. เป็นต้นไป พบว่า ช่วยลดความรุนแรงของอาการหวัด โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการมาก
4. ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ จากการวิเคราะห์งานวิจัยจาก 9 งานวิจัย จำนวนผู้เข้าร่วมงานวิจัยรวม 293,172 คน พบว่า ผู้ที่รับประทานวิตามินซีอย่างน้อย 700 มก.ต่อวัน ต่อเนื่องนาน 10 ปี มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจลดลง 25% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานวิตามินซี
5. ช่วยลดระดับกรดยูริกในเลือดและช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์ จากงานวิจัย Meta-analysis ที่รวบรวมงานวิจัยถึง 13 งานวิจัย พบว่าการเสริมวิตามินซีมากกว่า 30 วันช่วยลดกรดยูริกในเลือดได้อย่างมีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับการได้รับยาหลอก
6. ช่วยป้องกันการขาดธาตุเหล็ก การเสริมวิตามินซีช่วยการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารได้ วิตามินซีช่วยในการเปลี่ยนธาตุเหล็กที่ดูดซึมได้ไม่ดี เช่น แหล่งธาตุเหล็กจากพืช ให้อยู่ในรูปแบบที่ดูดซึมได้ง่ายขึ้น
7. ช่วยเรื่องความจําและความคิด ความจำเสื่อมพบมากในผู้สูงอายุ จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าภาวะ oxidative stress และการอักเสบที่ ระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ พบว่าการมีระดับวิตามินซีต่ำ มีความสัมพันธ์กับการคิดและจดจําที่บกพร่อง
8. วิตามินซีช่วยเพิ่มสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้
วิตามินซี มีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณ "บิฟิโดแบคทีเรียม" ซึ่งมีความสำคัญต่อลำไส้และระบบภูมิคุ้มกัน โดย “บิฟิโดแบคทีเรียม” คือสายพันธุ์จุลินทรีย์กลุ่มโพรไบโอติกส์ในลำไส้ ที่มีบทบาทมากที่สุดต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทั้งทางเดินอาหาร และต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ
สัญญาณการขาดวิตามินซี
- การติดเชื้อบ่อย
- แผลหายช้า
- เหงือกบวม มีเลือดออก
- อ่อนเพลีย อ่อนล้า
- มีจ้ำเขียวง่าย
- ลักปิดลักเปิด
หลักการเลือกผลิตภัณฑ์วิตามินซี
1. เลือกสูตรที่มีส่วนผสมของวิตามินซี ในรูปแบบโซเดียมแอสคอร์เบท หรือ แคลเซียมแอสคอร์เบท ซึ่งรูปแบบนี้จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารน้อย
2. มีปริมาณของวิตามินซีที่เหมาะสม และส่งผลต่อสุขภาพ
3. มีงานวิจัยรองรับ เช่น มีระดับวิตามินซีเข้าสู่ร่างกาย ส่งผลดีต่อสุขภาพ เป็นต้น
4. วัตถุดิบและกระบวนการผลิต ได้มาตรฐานสากล
แหล่งอ้างอิง
1. https://www.healthline.com/nutrition/vitamin-c-benefits
2. Popovic LM, Mitic NR, Miric D, Bisevac B, Miric M, Popovic B. Influence of vitamin C supplementation on oxidative stress and neutrophil inflammatory response in acute and regular exercise. Oxid Med Cell Longev. 2015;2015:295497. doi: 10.1155/2015/295497. Epub 2015 Feb 23. PMID: 25802681; PMCID: PMC4352897.
3. Kim MK, Sasazuki S, Sasaki S, Okubo S, Hayashi M, Tsugane S. Effect of five-year supplementation of vitamin C on serum vitamin C concentration and consumption of vegetables and fruits in middle-aged Japanese: a randomized controlled trial. J Am Coll Nutr. 2003 Jun;22(3):208-16. doi: 10.1080/07315724.2003.10719295. PMID: 12805247.
4. Guan Y, Dai P, Wang H. Effects of vitamin C supplementation on essential hypertension: A systematic review and meta-analysis. Medicine (Baltimore). 2020 Feb;99(8):e19274. doi: 10.1097/MD.0000000000019274. PMID: 32080138; PMCID: PMC7034722
5. Knekt P, Ritz J, Pereira MA, O'Reilly EJ, Augustsson K, Fraser GE, Goldbourt U, Heitmann BL, Hallmans G, Liu S, Pietinen P, Spiegelman D, Stevens J, Virtamo J, Willett WC, Rimm EB, Ascherio A. Antioxidant vitamins and coronary heart disease risk: a pooled analysis of 9 cohorts. Am J Clin Nutr. 2004 Dec;80(6):1508-20. doi: 10.1093/ajcn/80.6.1508. PMID: 15585762.
6. McRae MP. Vitamin C supplementation lowers serum low-density lipoprotein cholesterol and triglycerides: a meta-analysis of 13 randomized controlled trials. J Chiropr Med. 2008 Jun;7(2):48-58. doi: 10.1016/j.jcme.2008.01.002. PMID: 19674720; PMCID: PMC2682928.
7. Juraschek SP, Miller ER 3rd, Gelber AC. Effect of oral vitamin C supplementation on serum uric acid: a meta-analysis of randomized controlled trials. Arthritis Care Res (Hoboken). 2011 ;63(9):1295-306. doi: 10.1002/acr.20519. PMID: 21671418; PMCID: PMC3169708.
8. Hurrell R, Egli I. Iron bioavailability and dietary reference values. Am J Clin Nutr. 2010 May;91(5):1461S-1467S. doi: 10.3945/ajcn.2010.28674F. Epub 2010 Mar 3. PMID: 20200263.
9. Huijskens MJ, Walczak M, Koller N, Briedé JJ, Senden-Gijsbers BL, Schnijderberg MC, Bos GM, Germeraad WT. Technical advance: ascorbic acid induces development of double-positive T cells from human hematopoietic stem cells in the absence of stromal cells. J Leukoc Biol. 2014 Dec;96(6):1165-75. doi: 10.1189/jlb.1TA0214-121RR. Epub 2014 Aug 25. PMID: 25157026.
10. Bennett S, Grant MM, Aldred S. Oxidative stress in vascular dementia and Alzheimer's disease: a common pathology. J Alzheimers Dis. 2009;17(2):245-57. doi: 10.3233/JAD-2009-1041. PMID: 19221412.
11. Gale CR, Martyn CN, Cooper C. Cognitive impairment and mortality in a cohort of elderly people. BMJ. 1996 Mar 9;312(7031):608-11. doi: 10.1136/bmj.312.7031.608. PMID: 8595334; PMCID: PMC2350374.
12. Hemilä H, Chalker E. Vitamin C reduces the severity of common colds: a meta-analysis. BMC Public Health. 2023 Dec 11;23(1):2468. doi: 10.1186/s12889-023-17229-8. PMID: 38082300; PMCID: PMC10712193.
13. Chuangchot N, Boonthongkaew C, Phoksawat W, Jumnainsong A, Leelayuwat C, Leelayuwat N. Oral vitamin C treatment increases polymorphonuclear cell functions in type 2 diabetes mellitus patients with poor glycemic control. Nutr Res. 2020 Jul;79:50-59. doi: 10.1016/j.nutres.2020.05.010. Epub 2020 May 23. PMID: 32610257.
14 Boonthongkaew C, Tong-Un T, Kanpetta Y, Chaungchot N, Leelayuwat C, Leelayuwat N. Vitamin C supplementation improves blood pressure and oxidative stress after acute exercise in patients with poorly controlled type 2 diabetes mellitus: A randomized, placebo-controlled, cross-over study. Chin J Physiol. 2021 Jan-Feb;64(1):16-23. doi: 10.4103/cjp.cjp_95_20. PMID: 33642340.