คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องออกกำลังกายมั้ย?
แล้วถ้าออกไปแล้วจะมีผลต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่?
นี่คงเป็นคำถามคาใจสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งการออกกำลังกายในระหว่างตั้งครรภ์สามารถทำได้โดยปลอดภัยและยังให้ประโยชน์มากมายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ ก่อนที่คุณแม่จะเริ่มออกกำลังกายประเภทใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับสุขภาพของคุณแม่ก่อน ถ้าหากไม่มีปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงและมีการตั้งครรภ์ปกติ คุณแม่ก็จะสามารถออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย
8 ข้อห้ามของการออกกำลังกายในระหว่างตั้งครรภ์
• ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์
• ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
• มีประวัติเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
• ปากมดลูกไม่แข็งแรงหรือภาวะปากมดลูกหลวม
• เลือดออกทางช่องคลอดในไตรมาสที่ 2 หรือ 3 ของการตั้งครรภ์
• ภาวะรกเกาะต่ำ
• ภาวะทารกในครรภ์โตช้า
• มีโรคหัวใจหรือโรคปอดที่เป็นก่อนการตั้งครรภ์
ประโยชน์อื่นๆ ของการออกกำลังกาย คือ ช่วยลดอาการไม่สบายตัวต่างๆ ระหว่างตั้งครรภ์ (เช่น อาการคลื่นไส้ แสบร้อน
กลางอก ตะคริวที่ขา ริดสีดวงทวาร และนอนไม่หลับ) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด และช่วยควบคุมน้ำหนัก
10 วิธีเพื่อการออกกำลังกายอย่างปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์
1. เริ่มต้นอย่างช้าๆ
เริ่มต้นออกกำลังกายเบาๆ ในระดับที่ไม่ทำให้เจ็บปวด หายใจหอบ หรือเหนื่อยเกินไป แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความหนักของการ
ออกกำลังกายตามสมรรถภาพทางกายที่เพิ่มขึ้น แต่ต้องไม่เกินขีดจำกัดของตัวเอง
2. เลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสม
การว่ายน้ำและการปั่นจักรยานอยู่กับที่เป็นการออกกำลงกายที่สะดวกสบายที่สุดสำหรับคนท้อง เนื่องจากร่างกายไม่ต้อง
รับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น การเดินและการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำก็สามารถทำได้เช่นกัน
3. สำหรับคุณแม่นักวิ่ง
ถ้าคุณชอบออกกำลังกายด้วยการวิ่งอยู่แล้ว การวิ่งต่อไปหลังจากตั้งครรภ์ก็มีความปลอดภัย แต่ผู้หญิงหลายคนอาจรู้สึก
ไม่สบายตัวและมักจะต้องลดการวิ่งหรือหยุดไปในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์
4. โยคะสำหรับคนท้อง
โยคะเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่ทำได้ตลอดการตั้งครรภ์ เนื่องจากโยคะช่วยยืดกล้ามเนื้อและทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
การยืดเหยียดจะทำให้ร่างกายยืดหยุ่นขึ้น ซึ่งจะลดโอกาสบาดเจ็บในขณะออกกำลังกายและช่วยให้คลอดง่ายขึ้น การฝึกโยคะจำเป็นต้องมีครูผู้ฝึกสอนที่สามารถช่วยจัดท่าทางและแนะนำว่าท่าใดไม่ควรทำในระหว่างตั้งครรภ์
5. อย่าเล่นกีฬาอันตราย
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องมีการเปลี่ยนท่าทางหรือตำแหน่งร่างกายอย่างฉับพลัน กีฬาที่ต้องอาศัยทักษะการทรงตัว หรือกีฬาที่มีความเสี่ยงสูงต่อการหกล้มหรือบาดเจ็บ และหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องมีการปะทะ เช่น ฮอคกี้ มวย ฟุตบอล
6. อย่าให้อุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป
ในระหว่างตั้งครรภ์ อุณหภูมิภายร่างกายของคุณจะสูงขึ้น และเมื่อประกอบกับความร้อนที่ถูกสร้างขึ้นการออกกำลังกายก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้หากคุณไม่ทำให้ร่างกายเย็นลง อย่าออกกำลังกายกลางแดดร้อนจัด ถ้าออกกำลังกายภายในอาคารต้องมีอากาศถ่ายเท และหยุดออกกำลังกายหากรู้สึกร้อน
7. ดื่มน้ำมากๆ
ดื่มน้ำมากๆ ขณะออกกำลังกาย ถึงแม้คุณจะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม
8. เจ็บท้องคลอดระหว่างออกกำลังกาย
ถ้าหากคุณรู้สึกไม่สบาย ปวด หรือเจ็บท้องคลอดระหว่างการออกกำลังกาย ให้หยุดออกกำลังกายทันทีและปรึกษาแพทย์
9. โอกาสบาดเจ็บเพิ่มขึ้น
ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อต่อเพิ่มขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนในกระแสเลือดมีผลต่อการคลายตัวและการเคลื่อนตัวของกระดูกเชิงกรานและข้อต่อรอบๆ
10. ความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น
ผู้หญิงที่ออกกำลังกายในระหว่างตั้งครรภ์อาจต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นมากกว่า 150-300 แคลอรีต่อวันซึ่งเป็นพลังงานที่ต้องการเพิ่มขึ้นในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
รู้แบบนี้แล้วคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนก็สบายใจได้เลยนะคะ เพราะการออกกำลังกายไม่เพียงแค่ช่วยให้คุณแม่สุขภาพแข็งแรง
แต่ยังส่งผลต่อลูกน้อยให้แข็งแรงโดยตรงอีกด้วย
ถ้าคุณเเม่ท่านไหนกังวลใจว่าจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน การทานโฟลิค และโอเมก้า-3 จากน้ำมันปลา จะช่วยเสริมพัฒนาการทางสมองและร่างกายให้เด็กในครรภ์ เเละยังทำให้สุขภาพร่างกายของคุณเเม่แข็งแรงอีกด้วยนะคะ