3 เหตุผลที่คุณควรเลิกทำงานแบบ Multitasking ได้แล้ว

blackmores thailand
facebook twitter email line

หากคุณเชื่อว่าการทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกัน (Multitasking) จะทำให้คุณสามารถทำอะไรสำเร็จได้มากกว่าปกติ ให้คิดใหม่ได้เลย เพราะนักประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) แนะนำว่าการมุ่งมั่นทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

ทักษะในการทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อม ๆ กันนั้น หลายๆ คนมองว่าเป็นทักษะที่ล้ำค่าอย่างมากในโลกปัจจุบันที่ทั้งยุ่งวุ่นวายและยึดติดกับเทคโนโลยี

ยกตัวอย่างง่ายๆ ใครบ้างล่ะที่ไม่คุยโทรศัพท์ไปด้วยพร้อมส่งอีเมล์ไปด้วย แล้วคิดด้วยว่าจะทานอะไรตอนเย็นไปพลางๆ พร้อมกับคิดด้วยว่าจะล้างห้องน้ำตอนช่วงเสาร์อาทิตย์? (ล้อเล่นนะคะ)

มีโอกาสที่การคิดหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกันจะทำให้ประสิทธิภาพของคุณลดลง จินตนาการถดถอย และอาจจะมีผลเสียต่อสมรรถนะในความรู้ความคิดอีกด้วย

มนุษย์นั้นไม่สามารถทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้จริงๆ

นักประสาทวิทยาศาสตร์ ที่ได้ศึกษาสมองและพฤติกรรมของมนุษย์เห็นพ้องกันว่าทักษะในการทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมๆ กันนั้นเป็นแค่นิยายเท่านั้น

“คนเราไม่ได้ทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกันหรอก จริงๆ แล้วสมองของเราแค่สลับไปสลับมาระหว่างกิจกรรมต่างๆ เท่านั้น” เอิร์ล มิลเลอร์ ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาศาสตร์แห่งสถาบัน Picower เพื่อการเรียนรู้และการจดจำที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์กล่าว

fb
pin
3 เหตุผลที่คุณควรเลิกทำงานแบบ Multitasking ได้แล้ว

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยออกมารองรับอีกด้วย โดยงานวิจัยดังกล่าวของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้ศึกษาบุคคลที่ทำกิจกรรมหลายอย่างกับคนที่มุ่งทำกิจกรรมอย่างเดียวอย่างละเอียดและพบว่าผู้ที่ใช้สื่อมัลติมีเดียหลายๆ รูปแบบในเวลาเดียวกันนั้นจะเสียสมาธิง่ายกว่า ระลึกถึงความทรงจำได้ยากกว่าและทำงานได้ดีน้อยกว่าเมื่อต้องสลับกิจกรรมไปมาเทียบกับคนที่มุ่งทำกิจกรรมอย่างเดียว

หรือให้พูดง่ายๆ หากคุณเป็นคนที่ชอบทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน อาจถึงเวลาที่ต้องทบทวนวิธีการทำงานของคุณแล้ว

การทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวทำให้ทักษะของคุณถดถอยได้จริงหรือ?

มีหลักฐานว่า การทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันนั้นอาจจะลดทอนสมรรถนะในความรู้ความคิดของคุณ

งานวิจัยของสถาบันทดลองเกี่ยวกับการทำงานของสมองและกิจกรรมของมหาวิทยาลัยมิชิแกนพบว่าผู้ถูกวิจัยนั้นสูญเสียเวลาในการทำงานอันมีค่าไปในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่ใช้ในการสลับระหว่างงาน

ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กัน หรือถ้าให้เรียกอย่างถูกต้องว่า “การทำงานหลายอย่างต่อเนื่องกัน” นั้นมาพร้อมกับผลเสียต่อความสามารถในการประมวลผลข้อมูลของสมองเรา

“ทุกครั้งที่คุณสลับงานไปมา สมองของเราต้องหาว่าเราทำไว้ถึงไหน ต้องตรวจแก้ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการสลับ และทำให้เราทำงานผิดพลาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลงในที่สุด” ศาสตราจารย์ มิลเลอร์ กล่าว

ในทางตรงกันข้าม การทำงานอย่างเดียวจะช่วยให้คุณมีสมาธิและมีประโยชน์ด้านอื่นๆ ด้วย หากคุณคิดว่า คุณควรเปลี่ยนไปทำงานแบบมุ่งเน้นอย่างเดียวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ก็ไม่เลวเสียทีเดียว

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดชี้ว่า บุคคลที่ทำงานอย่างเดียวนั้นมีสมาธิมากกว่า มีความจำในการทำงานที่ดีกว่าและทำงานได้ดีกว่าเมื่อต้องสลับระหว่างงานเมื่อเทียบกับคนที่ทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กัน

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ มิลเลอร์ ยังกล่าวอีกว่า การทำงานแบบมุ่งเน้นอย่างเดียวนั้นมีประโยชน์นอกเหนือจากการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน

“ความคิดสร้างสรรค์อย่างแท้จริงนั้นเกิดจากการโยง “ความทรงจำ” ในหัวของคุณกับสถานที่แปลกใหม่ แต่เมื่อคุณต้องทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมกัน สมองของคุณไม่สามารถโยงได้เพราะสมองของคุณนั้นต้องย้อนไปมาตลอดเวลา ดังนั้นการทำงานแบบมุ่งเน้นอย่างเดียว จะเปิดโอกาสให้สมองของเรานั้นมีความสร้างสรรค์กว่าเดิมได้” ศาสาตราย์ กล่าว

fb
pin
3 เหตุผลที่คุณควรเลิกทำงานแบบ Multitasking ได้แล้ว

แล้วเราจะทำงานแบบอย่างเดียวอย่างไร?

“การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิจกรรมหลายอย่างพร้อมกันนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก” มิเชล ฟัง นักจิตวิทยากล่าว

“เราจะต้องค่อยๆ ฝึกสมองของเราใหม่ให้เปลี่ยนวิธีในการทำงานแล้วให้มุ่งเน้นทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งแทน” เธอกล่าวเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังมีกลเม็ดต่างๆ ในการส่งเสริมให้ทำงานแบบมุ่งเน้นงานเดียวอีกด้วย

ให้ทำรายการงานที่ต้องทำและจัดลำดับความสำคัญของงาน จากนั้นจึงมุ่งทำงานที่สำคัญที่สุด

มุ่งเน้นไปที่งานใดงานหนึ่งเท่านั้นไม่ว่าจะเวลาไหนก็ตาม

หากคุณคิดว่ากำลังเสียสมาธิ ให้พักทำงานก่อนแล้วลุกขึ้นออกไปเดินเล่นรอบๆ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองของคุณ

ปิดเครื่องมือสื่อสารและเอาสิ่งต่าง ๆ ที่อาจรบกวนสมาธิของคุณออกไป

ผลลัพธ์ที่เห็นได้ทันที

แม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลาในการหล่อหลอมพฤติกรรมขึ้นใหม่ แต่ ศาสาตราจารย์ มิลเลอร์ ได้ให้คำแนะนำดังต่อไปนี้ สำหรับคนที่ต้องการจะฝึกทำงานแบบมุ่งเน้นอย่างเดียว

“ก่อนที่คุณจะเริ่มฝึกทำงานแบบมุ่งเน้นเรื่องเดียว ให้ลองทำสมาธิทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วคุณภาพในการทำงานของคุณก็จะเพิ่มแบบทันทีเลยทีเดียว”

เรียกได้ว่าเป็นเหตุผลที่ดีทีเดียวในการหันมาเริ่มทำงานแบบมุ่งเน้นอย่างเดียว

blackmores thailand blackmores thailand blackmores thailand
facebook twitter email line