อาการเริ่มหนัก เมื่อคุณเริ่ม “กลั้นปัสสาวะไม่ได้”

blackmores thailand
facebook twitter email line

คำว่า กลั้นการขับถ่ายไม่ได้ หมายถึงภาวะที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระได้ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่คนจำนวนมากรู้สึกอับอายมาก

อาการ

ภาวะกลั้นการขับถ่ายไม่ได้ คือ การไม่สามารถกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระได้

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เป็นภาวะที่พบได้บ่อยกว่าและจะกล่าวถึงด้านล่างนี้

ประเภทหลักของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ได้แก่:

• ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เมื่อมีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง (Stress Incontinence) ซึ่งการเคลื่อนไหวอย่างแรงหรือฉับพลัน (เช่น การออกกำลังกาย การจาม หรือการไอ) จะกระตุ้นให้เกิดปัสสาวะเล็ดออกมา โดยทั่วไปแล้วปัสสาวะที่ออกมามักจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อย

• ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้หลังมีอาการปวดปัสสาวะเฉียบพลัน (Urge Incontinence) การกลั้นไม่อยู่จะเกิดขึ้นหลังจากรู้สึกปวดปัสสาวะเฉียบพลัน ความรู้สึกปวดปัสสาวะทันที (และตามมาด้วยอาการกลั้นไม่อยู่) อาจถูกกระตุ้นได้โดยเสียงน้ำไหลหรือสัญญาณอื่นๆ ที่ชี้นำร่างกายว่าถึงเวลาเข้าห้องน้ำ นอกจากนี้ การดื่มน้ำ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา หรือกาแฟในปริมาณมากเกินไป ยังอาจกระตุ้นให้เกิดอาการปัสสาวะราดได้ ซึ่งปัสสาวะทั้งหมดมีแนวโน้มจะถูกปล่อยราดออกมา

• ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้จากปัสสาวะล้น (Overflow Incontinence) ซึ่งปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะไม่ได้ถูกขับออกทั้งหมด ทำให้กระเพาะปัสสาวะล้น และปัสสาวะส่วนเกินเล็ดออกมา

• ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เนื่องจากข้อจำกัดของร่างกาย (Functional Incontinence) ซึ่งข้อจำกัดทางร่างกายหรือจิตใจทำให้การเข้าห้องน้ำทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้

ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้มากกว่าหนึ่งประเภทเกิดขึ้นพร้อมกัน

อาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน (ความจำเป็นต้องลุกออกจากเตียงเพื่อมาปัสสาวะในเวลากลางคืน) ความรู้สึกว่าปัสสาวะไม่หมดหลังจากปัสสาวะแล้ว ปัสสาวะไหลไม่แรง ปัสสาวะรดที่นอน และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ

ผิวหนังบริเวณรอบอวัยวะสืบพันธุ์อาจมีผื่นหรือการติดเชื้อจากการสัมผัสปัสสาวะเป็นเวลานาน

บางคนอาจแยกตัวออกจากสังคมเนื่องจากความอับอายเกี่ยวกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของตนเอง

ถึงแม้จะไม่มีอาการปัสสาวะเล็ดเกิดขึ้น แต่ความจำเป็นที่ต้องเข้าห้องน้ำอย่างเร่งด่วนและบ่อยครั้งก็เป็นตัวบ่งชี้ถึงปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

สาเหตุ

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ว่ากระเพาะปัสสาวะมีการทำงานไม่สมบูรณ์ ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง แต่ยังอาจเกิดขึ้นได้จากความเสียหายของเส้นประสาทในบริเวณนั้น

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เมื่อมีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง (Stress Incontinence) มักเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อที่ควบคุมการปัสสาวะได้รับความเสียหายในระหว่างการคลอดบุตร ซึ่งพบในหนึ่งในสามของผู้หญิงที่ผ่านการคลอดบุตร การควบคุมกล้ามเนื้อเหล่านี้ลดลงจนส่งผลให้เกิดปัสสาวะเล็ดเมื่อมีแรงดันในช่องท้อง (เช่น การไอ การจาม) การมีน้ำหนักตัวมากเกินก็อาจก่อให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ประเภทนี้ได้เช่นกัน

fb
pin
อาการเริ่มหนัก เมื่อคุณเริ่ม “กลั้นปัสสาวะไม่ได้”

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้พบในผู้หญิงได้บ่อยกว่าผู้ชาย และยิ่งพบเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในผู้หญิงสูงอายุ การลดลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจเป็นสาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ปัญหาของต่อมลูกหมาก เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้ชาย และในบางกรณียังอาจเกิดขึ้นเนื่องจากผลไม่พึงประสงค์ของการผ่าตัดต่อมลูกหมาก

ปัญหาของระบบประสาท (เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) อาจนำไปสู่ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ในขณะที่ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เนื่องจากข้อจำกัดของร่างกาย (Functional Incontinence) นั้นเกี่ยวข้องกับความบกพร่องหรือพิการทางร่างกายและจิตใจ

สาเหตุชั่วคราวของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้อาจรวมถึงการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ท้องผูก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มของเหลวมากหรือน้อยเกินไป และการใช้ยาบางชนิด (เช่น ยานอนหลับ ยาขับปัสสาวะ) ผู้หญิงบางคนอาจมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ชั่วคราวได้ในระหว่างตั้งครรภ์

อาหารการกินและการดำเนินชีวิต

ไม่จำเป็นต้องอายหรือรู้สึกผิดเกี่ยวกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีผลิตภัณฑ์หลายชนิดและหลายวิธีการที่จะช่วยจัดการกับปัญหานี้และลดผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณให้น้อยที่สุด

fb
pin
อาการเริ่มหนัก เมื่อคุณเริ่ม “กลั้นปัสสาวะไม่ได้”

ปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อร่วมกันวางแผนในการช่วยคุณจัดการกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ซึ่งอาจรวมถึงการใช้แผ่นรองซึมซับหรือสายสวน การออกกำลังกายเพื่อช่วยดูแลกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และรักษาระดับการบริโภคของเหลวต่อวันให้เพียงพอ (น้ำ 1.5-2 ลิตรต่อวัน)

อย่าเข้าห้องน้ำเว้นแต่จำเป็น และเมื่อคุณเข้าห้องน้ำ ใช้เวลาเพื่อปัสสาวะออกให้หมด

การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (หรือเรียกว่า Kegel exercises) ทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมการปัสสาวะแข็งแรงขึ้น ดังนั้นจึงช่วยควบคุมภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานนั้นง่ายดายเพียงแค่ขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานครั้งละสามวินาที การบริหารนี้สามารถทำได้ทั้งวันทุกเวลา โดยไม่มีใครสังเกตว่าคุณกำลังทำมันอยู่

ข้อสังเกตที่สำคัญ

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้อาจมีหลากหลายสาเหตุ และในหลายกรณีสามารถจัดการได้ง่าย อย่ารีรอที่จะขอคำปรึกษาจากแพทย์ของคุณ

blackmores thailand blackmores thailand blackmores thailand
facebook twitter email line