ถั่วเหลือง
เมื่อคุณรับประทานถั่วเหลืองที่เป็นส่วนหนึ่งของอาหารเพื่อสุขภาพที่สมดุล ถั่วเหลืองก็เป็นอาหารจำเป็นที่ช่วยบรรเทาอาการบางอย่างของภาวะหมดประจำเดือนและช่วยเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้หญิง
ถั่วเหลืองมีไอโซฟลาโวน และลิคแนน ที่มีโครงสร้างคล้ายกับเอสโตรเจนและยังเป็นที่รู้จักในชื่อ ไฟโตรเอสโตรเจน เราพบว่าไฟโตรเอสโตรเจนชนิดที่มีอยู่ในเมล็ดถั่วเหลืองอาจช่วยบรรเทาอาการหมดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ
เมล็ดถั่วเหลืองเป็นอาหารที่มีสารอาหารสูงและเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีเยี่ยม โปรตีนมีความจำเป็นสำหรับการรักษาสุขภาพของกล้ามเนื้อ และมีความสำคัญในลำดับต้นๆ เมื่ออายุมากขึ้น และเสริมความแข็งแรงของกระดูกและรักษารอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และอื่นๆ
เพิ่มถั่วเหลืองในมื้ออาหารด้วยเมล็ดถั่วเหลืองทั้งเมล็ด เต้าหู้ และถั่วหมัก
แครนเบอร์รี
เมื่อระดับเอสโตรเจนลดลงในช่วงหมดประจำเดือน ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ (UTIs) และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนประมาณร้อยละ 15 จะติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย
แครนเบอร์รีมีโปรแอนโธไซยานาดินส์ และเชื่อว่าส่วนประกอบของแครนเบอร์รีประเภทนี้ อาจช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะไปติดกับผนังกระเพาะปัสสาวะ
น้ำแครนเบอร์รีเป็นวิธีรับประทานแครนเบอร์รีที่นิยมที่สุดเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แต่อย่าลืมอ่านฉลาก – น้ำผลไม้แบบไม่หวานนั้นดีที่สุด ดังนั้นให้ดูว่า น้ำผลไม้ของคุณนั้นเติมน้ำตาลหรือไม่
บรอคโคลี
เรื่องใหญ่ที่ควรพิจารณา เมื่อคุณอยู่ในช่วงหมดประจำเดือนคือ เรื่องสุขภาพกระดูก จะเห็นชัดได้ว่ามีการสูญเสียมวลกระดูกมากขึ้นจากการลดลงของเอสโตรเจน จริงๆ แล้ว การสูญเสียมวลกระดูกระหว่างร้อยละ 1-5 ต่อปี จะเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้หญิงหมดประจำเดือน
แคลเซียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นในการเสริมสุขภาพและความแข็งแรงของกระดูก ถึงตอนนี้คุณอาจจะรู้แล้วว่า อาหารประเภทนมนั้นเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุด แต่หากคุณกำลังมองหาความหลากหลายในการรับประทานอาหาร หรือต้องรับประทานอาหารที่มีการจำกัดอาหารประเภทนม
การรับประทานบรอคโคลีสามารถเสริมแคลเซียมให้คุณได้ บรอคโคลี100 กรัมมีแคลเซียม 33 มิลลิกรัม และเป็นส่วนผสมแสนอร่อยในเมนูผัดหรือจิ้มในซาซิกิเพื่อสุขภาพแบบทำเองได้ที่บ้าน เป็นอาหารว่างที่อุดมไปด้วยแคลเซียม
บรอคโคลียังมีไฟโตนิวเทรียน ที่ช่วยในการขจัดสารพิษในร่างกายและอาจส่งผลดีต่อสุขภาพ อย่าลืมว่า บรอคโคลีเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอต่อการได้รับแคลเซียมในแต่ละวันตาม RDI สำหรับผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี นั่นก็คือ แคลเซียม 1,300 มิลลิกรัม ซึ่งจะเท่ากับการรับประทานบรอคโคลีประมาณ 4 กิโลกรัมต่อวัน!
อัลมอนด์
สุขภาพหลอดเลือดหัวใจของเราก็ยังเป็นร่างกายอีกส่วนหนึ่งที่สูญเสียการป้องกันเมื่อฮอร์โมนลดลงหลังหมดประจำเดือน
การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ต้องกระทำเพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจ และการรับประทานอัลมอนด์เสริมอาหารอาจส่งผลดีต่อเรื่องนี้
อัลมอนด์มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบบโมเลกุลเดี่ยว (MUFA) ซึ่งทำให้อัลมอนด์มีประโยชน์ต่อร่างกาย และช่วยปกป้องสุขภาพของหัวใจโดยการลดระดับโคเลสเตอรอล อัลมอนด์ยังมีไฟโตสเตอรอล (สเตอรอลจากพืช) ที่ช่วยลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล