เป็นที่เชื่อกันว่า การที่ซีบัมถูกสร้างเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากฮอร์โมนแอนโดรเจนฮอร์โมน ที่ครั้งหนึ่งเชื่อว่า ผู้ที่เป็นสิวจะมีฮอร์โมนตัวนี้ในระดับที่สูง แต่จริงๆ แล้ว มันอาจจะมีอยู่ช่วงระดับฮอร์โมนปกติสำหรับบางคนก็ได้ ระดับแอนโดรเจนที่มีน้อยหรือปกติ อาจถูกเปลี่ยนเป็นแอนโดรเจนที่แรงขึ้น และสะสมในบางจุดของผิวหนังของผู้ที่เป็นสิวบางราย สังกะสี อาจช่วยปรับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ซับซ้อน การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน การสร้างซีบัม และลดผิวอักเสบได้
หน้าที่ของสังกะสี
สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นที่มีอยู่ในอาหาร ซึ่งส่งผลต่อปฏิกิริยาของเอนไซม์กว่า 200 ปฏิกิริยาในร่างกาย สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสิวอักเสบเพราะมันช่วยในเรื่อง:
ภูมิคุ้มกัน: พบว่า สังกะสี สามารถเพิ่มเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้
ผิวหนัง: สังกะสีมีหน้าที่ในการนำวิตามินเอ ซึ่งเป็นวิตามินที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งไปยังผิวหนัง
การขับซีบัม: สังกะสีมีส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้เซลล์ที่ขับน้ำมันของผิวหนังทำงานได้อย่างปกติ
การสมานแผล: ระดับสังกะสีที่พอเหมาะ ช่วยในการสมานผิวปกติ มันมีส่วนสำคัญในการซ่อมแซมและสมานผิวที่อักเสบจากสิว
ฮอร์โมน: สังกะสีมีหน้าที่ในการควบคุมระดับฮอร์โมน
ใครบ้างที่อาจจะขาดสังกะสี?
ปริมาณสังกะสีที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่เพศหญิง คือ 8 มิลลิกรัม/วัน และ 14 มิลลิกรัม/วัน สำหรับผู้ใหญ่เพศชาย เด็กวัยรุ่นหญิงต้องการ 6 มิลลิกรัม/วัน ระหว่างช่วงอายุ 9-13 ปี และ 7 มิลลิกรัมระหว่างช่วงอายุ 14-18 ปี ผู้ที่อาจขาดสังกะสีรวมถึงผู้ที่เป็น:
มังสวิรัติหรือผู้ที่ทานเจ: เนื้อมีปริมาณสังกะสีสูงและร่างกายสามารถดูดซึมได้ดี
ผู้สูงอายุ: การความคุมอาหารหรือจำกัดการรับประทานอาหาร
ผู้ที่ติดแอลกอฮอล์: แอลกอฮอล์ลดการดูดซึมสังกะสีและทำให้เกิดการสูญเสียสังกะสีเพิ่มขึ้น
ผู้ที่มีกรดในกระเพาะอาหารน้อย: กรดในกระเพาะอาหารมีหน้าที่ในการช่วยดูดซึมสังกะสี
การเสริมอาหารด้วยธาตุเหล็กหรือทองแดงในปริมาณสูง เนื่องจากสารอาหารเหล่านี้สามารถแย่งการดูดซึมสังกะสี
ผู้ที่ขาดสังกะสีอาจจะมีภูมิคุ้มกันต่ำ แผลสมานยาก มีภาวะทางผิวหนัง (เช่น เป็นสิว หรือเป็นผื่นบนผิวหนัง) การรับรสและกลิ่นลดลง มีจุดขาวที่เล็บ สัญญาณและอาการเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะแสดงถึงการขาดสังกะสี แต่ก็อาจจะเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังนั้น หากคุณสงสัยว่าคุณอาจจะมีปริมาณสังกะสีต่ำ ถ้าจะให้ดี ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับคนทั่วไป การรับประทานอาหารแบบทั้งลูกและธัญพืชที่ไม่ขัดขาวหลากหลายชนิด โปรตีนไร้ไขมัน (รวมถึงอาหารทะเล) ผัก ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืช จะให้สารอาหารพื้นฐานที่มีปริมาณสังกะสีอย่างเพียงพอต่อการบริโภค อาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสีนี้รวมไปถึง หอยนางรม เนื้อแดง รำข้าวสาลี จมูกข้าวสาลี หอย ไพน์นัท และบราซิลนัท