การออกกำลังกายเป็นมากกว่าการทำให้คุณมีรูปร่างดี นักกายภาพบำบัดการออกกำลังกาย แอนดรูว์ เคท อธิบายว่า เทรนนิ่งแบบฟังก์ชันสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางกายของคุณได้อย่างไร
เทรนนิ่งแบบฟังก์ชันคืออะไร?
พูดง่าย ๆ เทรนนิ่งแบบฟังก์ชัน คือการฝึกการเคลื่อนไหว ไม่ใช่ฝึกกล้ามเนื้อ การออกกำลังแบบฟังก์ชัน เป็นการเลียนแบบการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงในการใช้งานจริง ซึ่งรวมถึงการเล่นกีฬา หรือการใช้ชีวิตประจำวัน
จึงทำให้มันเป็นเครื่องมือการฝึกที่มีประโยชน์สำหรับทุกคน ตั้งแต่ คุณแม่ นักเรียน ไปจนถึงพนักงานที่ต้องทำงานติดโต๊ะ และนักกีฬา
เทรนนิ่งแบบฟังก์ชันสำหรับกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว
ที่ผ่านมาเราเคยคิดกันว่า ต้องทำซิตอัพซ้ำๆ เพื่อสร้างกล้ามเนื้อหน้าท้องให้แข็งแรง ทุกวันนี้ เมื่อเรามีความเข้าใจในเรื่องเทรนนิ่งแบบฟังก์ชันดีขึ้น เราจึงเปลี่ยนมามุ่งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแรงเป็นหลักและการออกกำลังด้วยท่าแพลงกิ้งแทน
มันเป็นวิธีที่สมดุลมากขึ้นในการสร้างความมั่นคงให้กับช่วงลำตัว และรองรับกระดูกสันหลัง แกนลำตัวที่แข็งแกร่งจะไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณยกน้ำหนักที่ยิมได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ร่างกายของคุณเคลื่อนไหวในทิศทางต่างๆ ในสนามเทนนิสได้อย่างมั่นคงอีกด้วย
มันรองรับหลังของคุณได้ดีตอนใช้เครื่องมือทำสวน หรือทำให้คุณสามารถอุ้มบุตรหลาน หิ้วของหนัก หรือกระเป๋าใส่ตำราได้
คีเนติกเชนคืออะไร?
เทรนนิ่งแบบฟังก์ชันเป็นการฝึกการเคลื่อนไหวทั้งหมด - ซึ่งหมายถึงเรื่องจลนพลศาสตร์ (คีเนติก) จลนพลศาสตร์เป็นการศึกษาการเคลื่อนที่และแรงเหวี่ยงและพลังงานที่เกี่ยวข้อง
คีเนติกเชน เป็นแนวคิดที่ช่วยให้เราเข้าใจการเคลื่อนไหวและวิธีที่ร่างกายและส่วนต่างๆ ทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น มันทำให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวของเราเชื่อมโยงกัน โดยที่การเคลื่อนไหวของข้อต่อหนึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของข้อต่ออื่นๆ ดังสุภาษิตที่ว่า โซ่ทั้งเส้นจะแข็งแรงเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของข้อที่อ่อนแอที่สุดเท่านั้น
คีเนติกเชน ช่วยให้เข้าใจถึงความสำคัญของเทรนนิ่งแบบฟังก์ชัน ที่มุ่งเน้นไปที่การเคลื่อนไหวที่หลากหลาย มีความไม่เสถียร และเกี่ยวเนื่อง และอย่างรวดเร็วร่วมกัน ทำให้คุณออกกำลังกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
สิ่งจำเป็นสำหรับการออกกำลังแบบเทรนนิ่งแบบฟังก์ชันที่ได้ผล
นำหลักการเทรนนิ่งแบบฟังก์ชันทั้งสามข้อนี้มาใช้กับกิจวัตรการออกกำลังกายของคุณ
1. ความหลากหลาย - ออกกำลังกล้ามเนื้อของคุณในหลากหลายวิธี เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเคลื่อนไหวที่จำเป็น
ตัวอย่างเช่น กล้ามเนื้อหน้าอก (หน้าอกใหญ่) มีบทบาทหลักในการเล่นเทนนิสแบบโฟร์แฮนด์ หากคุณเพียงแค่ออกกำลังช่วงอกด้วยเครื่องบริหารแบบยกตุ้มน้ำหนัก อกของคุณจะแข็งแรงเฉพาะรูปแบบการเคลื่อนไหวที่คุณฝึกบริหารเท่านั้น เมื่อลูกเทนนิส พุ่งเข้าหาคุณด้วยความเร็ว ความสูงและมุมที่แตกต่างกัน คุณจะไม่ตีด้วยโฟร์แฮนด์ในแบบเดียวกันทุกครั้ง
จึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า หากคุณเพิ่มการออกกำลังส่วนอก เพื่อเสริมความแข็งแรงด้วยการเคลื่อนไหวและความเร็วที่หลากหลาย ซึ่งอาจรวมถึง ท่าวิดพื้น ท่าดึงกล้ามเนื้อหน้าอก (chest flyes) ใช้เก้าอี้ออกกำลังเอียงขึ้นและเอนลง และท่าออกกำลังหน้าอกด้วยการดึงแถบยาง (fast rubber strap chest exercises)
2. ความไม่เสถียร - ฝึกกล้ามเนื้อในขณะที่จัดวางร่างกายของคุณให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ผันแปร จะช่วยในการปรับปรุงสมดุล ป้องกันการบาดเจ็บ เพิ่มความแข็งแกร่งของแกนลำตัว และมุ่งฝึกกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อต่อให้แข็งแรง
พูดง่ายๆ ก็คือ การออกกำลังกายบนลูกบอลเป่าลม ยืนบน bosu (ลูกบอลเป่าลมทรงครึ่งวงกลม) หรือยืนกระต่ายขาเดียว คุณสามารถเพิ่มอุปกรณ์ที่กระจายน้ำหนักที่แตกต่างกัน เช่น ตุ้มน้ำหนัก สายยางหรือสายรัด TRX เข้ากับสภาวะความไม่เสถียรดังกล่าวได้ด้วย
3. เลียนแบบความเร็วในการเคลื่อนที่ของคุณ - ความเร็วในการเคลื่อนที่ก็สำคัญเช่นกัน หลายคนออกกำลังฝึกความแข็งแกร่งแบบดั้งเดิมอย่างช้าๆ และคงที่ แต่ไม่ค่อยคิดถึงการฝึกการเคลื่อนไหวที่ใช้ในสนามกีฬา
กิจกรรมกีฬาส่วนใหญ่เป็นการทำงานของกล้ามเนื้อแบบระเบิดพลังเป็นช่วงๆ ด้วยความเร็วสูง ดังนั้นในการฝึกซ้อมสำหรับกีฬาเฉพาะด้าน การเลียนแบบการเคลื่อนไหวประเภทนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ตัวอย่างเช่น การย่อยืด (squats) ช้าๆ และย่อลงต่ำๆ อาจเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นขา แต่การย่อยืดแบบกระโดด (jump squats) ขณะถือดัมเบลน้ำหนักเบาสักคู่จะช่วยให้คุณกระโดดได้สูงขึ้นเวลาเล่นบาสเก็ตบอล
โปรดทราบว่า การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและรุนแรงอาจทำให้คุณบาดเจ็บได้ง่ายและไม่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหากคุณมีข้อกังวลหรือมีประวัติการบาดเจ็บ