ภัยเงียบที่ไม่รู้ตัวจากความเครียด

blackmores thailand
facebook twitter email line

ด้วยวิถีชีวิตปัจจุบันที่เร่งรีบมากขึ้น ประกอบกับเนื้องานที่มากขึ้น ส่งผลให้คุณเหนื่อยและเครียดจากความกดดันดังกล่าวโดยไม่รู้ตัว โดยอาการเครียดจะแสดงออกทางสุขภาพ เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง, นอนไม่หลับ, อ่อนเพลีย, ปวดไหล่/หลัง, ทำงานได้ช้าลง และคิดช้า/สมองตื้อ เป็นต้น

ในช่วงที่คุณเครียด ร่างกายจะต้องการสารอาหารเพิ่มเติม เพื่อลดอาการที่เกิดจากความเครียด สารอาหารที่ควรเสริม ได้แก่ กลุ่มวิตามินบี วิตามินซี โพแทสเซียม แมกนีเซียม ซิงค์ เป็นต้น

กลุ่มวิตามินบี (3,4)

กลุ่มวิตามินบีเป็นวิตามินที่มีส่วนสำคัญในการสร้างพลังงานให้กับร่างกาย หากได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จะส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น นอกจากนี้ยังมีผลต่อการควบคุมระดับโฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) อีกด้วย

fb
pin
ภัยเงียบที่ไม่รู้ตัวจากความเครียด

สารโฮโมซิสทีน (Homocysteine) เป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายของอาหาร โดยถ้ามีสูงขึ้นเกินกว่าระดับที่ควรจะเป็นอาจทำลายหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดที่อยู่ในสมอง ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมอง ระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ (2)

ปกติร่างกายจะพยายามขจัด “สารโฮโมซีสทีน” ให้เป็น “สารซีสทีน” แทน ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อหลอดเลือดและร่างกายส่วนอื่นๆ อย่างไรก็ตามในบางสภาวะ หรือในบางคน ร่างกายไม่สามารถกำจัดสารโฮโมซิสทีนได้ จึงมีระดับโฮโมซีสทีนสูง เช่น สภาวะเครียด รับประทานเนื้อสัตว์มากไป ปัญหาทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถขจัดโฮโมซีสเตอีนได้ หรือ ร่างกายขาด วิตามิน บี6 บี12 และกรดโฟลิก เป็นต้น (1-2)

ดังนั้นการได้รับโฟเลตร่วมกับวิตามิน B6 และ B12 จะมีแนวโน้มช่วยลดสภาวะที่มีสารโฮโมซิสเทอีนเลือดสูงได้ จึงอาจมีส่วนช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary artery disease) และโรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease) ได้

วิตามินซี (5)

วิตามินซีนอกจากจะมีบทบาทในด้านภูมิคุ้มกันแล้ว ยังพบว่าวิตามินซีมีส่วนช่วยในการลดความเครียดไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย (physical) และด้านจิตใจ (psychological) โดยจากการวิจัยของเยอรมันในกลุ่มคน 120 คน พบว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวิตามินซี มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง (ฮอร์โมนนี้จะมีมากในสภาวะที่เครียด) และระดับความดันโลหิตก็เพิ่มสูงขึ้น มากกว่ากลุ่มที่ได้รับวิตามินซี 1,000 มิลลิกรัม

แมกนีเซียม (6)

แมกนีเซียมมีบทบาทสำคัญกับปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายมากกว่า 300 ชนิด โดยหน้าที่หลัก จะเกี่ยวข้องกับเอนไซม์ที่เป็น cofactor ของกระบวนการสร้างพลังงานในร่างกาย, การส่งกระแสประสาท, ระบบภูมิคุ้มกัน และการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งในสภาวะที่เครียด จะทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งตัวมากกว่าปกติ การเสริมแมกนีเซียมจึงช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวกลับสู่สภาวะปกติได้

โพแทสเซียม (7)

เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด ระดับ โพแทสเซียมในร่างกายจะลดลง ซึ่งมีผลทำให้ ร่างกายมีความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ดังนั้นเราจึงควรรักษาระดับ โพแทสเซียม ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่สนับสนุนว่าการรับประทานวิตามินบีรวม ร่วมกับแมกนีเซียมและวิตามินซี ช่วยให้ระดับความเครียดลดน้อยลง ลดอาการเศร้าหมอง สร้างความตื่นตัว และทำให้ภาวะอารมณ์ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (8) การทานวิตามินบีรวม ร่วมกับวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ จึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน หรืออยู่ในสภาวะเร่งรีบ

fb
pin
ภัยเงียบที่ไม่รู้ตัวจากความเครียด

ซิงค์

แร่ธาตุซิงค์ มีความสำคัญต่อการส่งกระแสประสาท ซึ่งมีการวิจัยพบว่า ถ้าร่างกายมีระดับซิงค์ต่ำ อาจส่งผลต่อการส่งกระแสประสาทที่แย่ลง (9,10) นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อร่างกายได้รับซิงค์ไม่เพียงพอ อาจสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลในผู้ใหญ่วัยทำงานได้ (11-14)

หากคุณเกิดความรู้สึกว่ากำลังตกอยู่ในท่ามกลางความเครียดตลอดเวลา นั่นจะทำให้ร่างกายของคุณเกิดอาการเครียดไปด้วย ควรหยุดพักหรือเดินออกจากสภาวะแวดล้อมเดิมๆ ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกกดดัน และลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่จะให้คำแนะนำในการบำบัดอาการเครียดได้อย่างถูกต้อง

อ้างอิง
1. Talitha C. Ford 1, Luke A. Downey 1,2,*, Tamara Simpson 1 , Grace McPhee 1, Chris Oliver 3 and Con Stough. The Effect of a High-Dose Vitamin B Multivitamin Supplement on the Relationship between Brain Metabolism and Blood Biomarkers of Oxidative Stress: A Randomized Control Trial. Nutrients. 2018, 10, 1860-1873.
2. Ramon Diaz -Arrastia, Homocysteine and Neurologic Disease. ARCH. Neuro, vol 57, Oct 2000, 1422-1427.
3. Con S., Tamara S., Justine L., et al. Reducing occupational stress with a B-vitamin focused intervention: a randomized clinical trial: study protocol-Nutrition Journal 2014, 13:122
4. สารโฟเลตกับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดย อ.พญ.นันตรา สุวันทารัตน์ , รศ.สมพงษ์ องอาจยุทธ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
5. www.psychologytoday.com/articles/200304/vitamin-c-stress-buster
6. Lesley B. and Marc C. Herbs and natural supplements an evidence-based guide. 839-843, 1274-1278
7. He FJ, MacGregor GA. Beneficial effects of potassium on human health. Physiol Plant. 2008;133(4):725-35
8. สังคมเมือง ความเครียด โรคภัย และวิตามินบี โดน นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง สถาบันนวัตกรรมสุขภาพผิวและความงาม โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพ
9. Gower-Winter SD, Levenson CW. Zinc in the central nervous system: From molecules to behavior. Biofactors. 2012;38(3):186–193. doi:10.1002/biof.1012.
10. Wang J et al. Zinc, Magnesium, Selenium and Depression: A Review of the Evidence, Potential Mechanisms and Implications. Nutrients. 2018;10(5):584. doi:10.3390/nu10050584.
11. Vashum KP et al.Dietary zinc is associated with a lower incidence of depression: Findings from two Australian cohorts. J Affect Disord. 2014;166:249-57. doi: 10.1016/j.jad.2014.05.016.
12. Nakamura M et al. Low Zinc, Copper, and Manganese Intake is Associated with Depression and Anxiety Symptoms in the Japanese Working Population: Findings from the Eating Habit and Well-Being Study. Nutrients. 2019;11(4):847. doi:10.3390/nu11040847.
13. Yary T and Aazami S. Dietary intake of zinc was inversely associated with depression. Biol Trace Elem Res. 2012;145(3):286-90. doi: 10.1007/s12011-011-9202-y.
14. Amani R et al. Correlation between dietary zinc intakes and its serum levels with depression scales in young female students. Biol Trace Elem Res. 2010;137(2):150-8. doi: 10.1007/s12011-009-8572-x.

blackmores thailand blackmores thailand blackmores thailand
facebook twitter email line