นักธรรมชาติบำบัด Jennifer McLennan ได้ศึกษาข้อมูลโรคหัวใจและหลอดเลือดเชิงลึกและพบว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD - Cardiovascular Disease) ส่งผลกระทบต่อทั้งเพศชายและหญิง แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะมองข้ามความเสี่ยงนี้ เพราะคิดว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดมักเกิดในผู้ชายมากกว่า
โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) คืออะไร?
CVD เป็นคำทั่วไปที่ใช้อธิบายภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือด CVD เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตในสตรีชาวออสเตรเลีย ตัวอย่างของปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่
• คอเลสเตอรอลในเลือด: เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่สร้างจากตับ และถูกใช้เพื่อสร้างฮอร์โมนและเยื่อหุ้มเซลล์ โดยอาจเกิด CVD ได้เมื่อระดับคอเลสเตอรอลมีความผิดปกติ เช่น LDL สูง (คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี) และ HDL ต่ำ (คอเลสเตอรอลชนิดดี)
• ความดันโลหิต: หมายถึงความดันในหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงทำให้เกิดแรงต้านต่อหัวใจ ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น
• หลอดเลือดแดงแข็ง: เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมีไขมันสะสมอยู่ภายในผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดคราบพลัคและทำให้เส้นเลือดอุดตัน
‘ผู้หญิง’ กับภาวะหัวใจและหลอดเลือด?
เชื่อกันว่า ‘เอสโตรเจน’ มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสตรีจากโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่หลังวัยหมดประจำเดือน การปกป้องจากเอสโตรเจนจะหมดไป ทำให้ผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น
โดยผู้หญิงอาจมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นในช่วงเวลาหลังวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงมากกว่า 90% จะมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจหนึ่งปัจจัย
และอีก 50% มีปัจจัยเสี่ยง 2 หรือ 3 ปัจจัยปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ได้แก่ อายุ เพศ หรือพันธุกรรม แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบางอย่างที่สามารถแก้ไขได้:
• ขาดการออกกำลังกาย - ผู้หญิงจำนวนมากขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอเพื่อการปกป้องหัวใจ
• การสูบบุหรี่ - ผู้หญิงอายุ 20-49 ปี 1 ใน 5 คน สูบบุหรี่ทุกวัน
• อาหารไม่ดี – ผู้หญิงจำนวนมากไม่ได้รับประทานผักและผลไม้ตามปริมาณที่แนะนำ
• แอลกอฮอล์ - จากรายงานพบว่า โดยเฉลี่ย ผู้หญิง 1 ใน 10 จะดื่มแอลกอฮอล์ในระดับที่เป็นอันตราย
• ความดันโลหิต – ซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยผู้หญิงอายุ 55-64 ปี เกือบครึ่งหนึ่งที่มีความดันโลหิตสูง และประมาณ ¾ ของผู้หญิงที่อายุมากกว่า 75 ปี มีความดันโลหิตสูง
• ระดับคอเลสเตอรอล - ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 55 ปี จะมีภาวะคอเลสเตอรอลสูง ในสัดส่วนที่มากกว่าผู้ชาย
• น้ำหนักตัว - ผู้หญิงอายุมากกว่า 15 ปี จำนวนมากกว่าครึ่งจะมีดัชนีมวลกายมากกว่าค่าปกติที่ถือว่ามีสุขภาพดี
• การนอนหลับไม่เพียงพอ - การนอนหลับไม่เพียงพอสามารถพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งสามารถส่งผลต่ออารมณ์ ไปจนถึงการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
• อารมณ์ไม่ดีและวิตกกังวล - ตลอดช่วงชีวิต ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาด้านความผิดปกติทางอารมณ์ได้มากกว่า อารมณ์สามารถส่งผลเสียต่อการรับประทานเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย และการนอนหลับ