ซิงค์มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพส่วนอื่น ๆ ของเรา เรียนรู้ว่าคุณต้องการซิงค์ในโภชนาการของคุณในปริมาณมากเท่าไรได้เลย
ซิงค์มีบทบาทต่อสุขภาพและสุขภาวะในทุกด้าน ตั้งแต่การช่วยรักษาบาดแผลไปจนถึงการทำงานของต่อมไทรอยด์ หรือกระทั่งการรับรสและกลิ่นอย่างเหมาะสม โดยทั่วไปแล้ว ซิงค์ใช้ในการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และผลิตภัณฑ์มากมายในปัจจุบันที่ใช้บรรเทาไข้หวัดก็มีซิงค์อยู่ด้วย
ทำความรู้จักกับระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ
ระบบภูมิคุ้มกันช่วยปกป้องร่างกายจากโรคโดยระบุและทำลายเชื้อก่อโรคต่าง ๆ เช่น แบคทีเรียและไวรัส เมื่อเวลาผ่านไป ระบบภูมิคุ้มกันจะปรับตัวเพื่อให้สามารถจำเชื้อก่อโรคได้มีประสิทธิภาพขึ้น กระบวนการนี้เรียกว่า ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ
เซลล์เม็ดเลือดขาวมีปริมาณจำนวนมากในบรรดาเซลล์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลิมโฟไซต์ ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ
ลิมโฟไซต์ที่ใช้ในภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บีลิมโฟไซต์ และ ทีลิมโฟไซต์ ทีเซลล์นั้นมีจำนวนมากที่สุด แต่ระบบภูมิคุ้มกันก็ใช้ทั้งบีเซลล์และทีเซลล์ในการต่อสู้กับเชื้อก่อโรคอย่างแข็งขัน
บทบาทของซิงค์ในภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ
งานวิจัยได้ชี้ให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญของซิงค์ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และเราทราบว่า ร่างกายต้องการซิงค์ในการพัฒนาและกระตุ้นทีลิมโฟไซต์ที่สำคัญทั้งหมด ในความจริงแล้ว ผลของงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งศึกษาบทบาทของซิงค์ในเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันอย่างลงลึก ชี้ให้เห็นว่า การเสริมซิงค์ให้กับร่างกายสามารถปรับปรุงการกระตุ้นทีเซลล์ได้
ข้อเท็จจริงนี้เกี่ยวข้องกับคุณอย่างไร
หากร่างกายมีซิงค์ต่ำ เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ทีเซลล์ อาจไม่ทำงานได้เท่าที่ควร ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่คนบางกลุ่มที่มีซิงค์ต่ำอาจมีความเสี่ยงในการเป็นไข้หวัด นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตที่ข้อค้นพบของงานวิจัยทบทวนในออสเตรเลียซึ่งเผยแพร่ในช่วงปลายปี 2564 พบว่าซิงค์มีความเชื่อมโยงกับการป้องกันอาการต่าง ๆ ของไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งลดระยะเวลาการเป็นโรคดังกล่าวอีกด้วย เมื่อใช้ซิงค์เพื่อการป้องกัน จะมีโอกาส 28 เปอร์เซ็นต์ในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไข้หวัดธรรมดา และเมื่อใช้ในการรักษา ซิงค์จะช่วยลดระยะเวลาของโรคลงได้ประมาณ 2 วัน และสรรพคุณนี้ไม่ได้จำกัดผลไว้เพียงในกลุ่มคนที่มีระดับซิงค์ต่ำเท่านั้น
สัญญาของระดับซิงค์ต่ำ
ระดับซิงค์ต่ำอาจแสดงให้เห็นจากการเป็นไข้หวัดบ่อย บาดแผลไม่หายดี และต่อมรับรสมีความสามารถในการรับรสชาติและสัมผัสน้อยลง อาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระดับซิงค์ต่ำนั้นรวมไปถึงผื่น ภาวะไม่อยากอาหาร รวมถึงเล็บงอกช้าและผมยาวช้า
ปัจจัยบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงของระดับซิงค์ต่ำได้ เช่น ความเครียดหรือการติดโรค รวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไป แต่หนึ่งในสาเหตุสำคัญของระดับซิงค์ต่ำคือการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยซิงค์น้อยเกินไป ซึ่งเป็นพฤติกรรมของผู้ชายออสเตรเลีย 1 ใน 3 และผู้หญิงออสเตรเลีย 1 ใน 10
การรับประทานอาหารมังสวิรัติก็อาจเพิ่มความเสี่ยงของระดับซิงค์ต่ำได้เช่นกัน รวมทั้งการไม่รับประทานเนื้อและอาหารทะเล ซึ่งอุดมไปด้วยซิงค์
คุณต้องการซิงค์ในปริมาณมากแค่ไหน
- จนถึงอายุ 80 ปี สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน (RDI) สำหรับเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงคือ 3-4 มิลลิกรัมต่อวัน และเพิ่มเป็น 6 มิลลิกรัมต่อวันในช่วงอายุ 9 ปีถึง 13 ปี
- RDI ของซิงค์สำหรับวัยรุ่นหญิงอายุ 14-18 ปีคือ 7 มิลลิกรัมต่อวัน และเพิ่มเป็น 8 มิลลิกรัมต่อวันตั้งแต่อายุ 19 ปีขึ้นไป (และเพิ่มเป็น 11 มิลลิกรัมระหว่างตั้งครรภ์ และ 12 มิลลิกรัมต่อวัน ระหว่างให้นมบุตร)
- RDI ของซิงค์สำหรับวัยรุ่นชายอายุ 14-18 ปี คือ 13 มิลลิกรัมต่อวัน และเพิ่มเป็น 14 มิลลิกรัมต่อวันตั้งแต่อายุ 19 ปีขึ้นไป
- RDI ของซิงค์สำหรับผู้ใหญ่ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติคือ 12 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้หญิง และ 21 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ชาย
อาหารที่อุดมไปด้วยซิงค์
อาหารโปรตีนสูงมักจะมีปริมาณซิงค์สูงที่สุด แต่ซิงค์ก็ยังพบในอาหารจำพวกพืชผักบางอย่างเช่นกัน
อาหาร ซิงค์ (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม)
• หอยนางรมดิบ 47.9 มิลลิกรัม
• เนื้อสันในย่าง 7.8 มิลลิกรัม
• ซีเรียลมื้อเช้าเสริมซิงค์ 1.9-7.8 มิลลิกรัม
• เมล็ดฟักทอง 7.5 มิลลิกรัม
• เมล็ดทานตะวัน 5.8 มิลลิกรัม
• เนื้อซี่โครงแกะ 5.4 มิลลิกรัม
• อัลมอนด์ ถั่วพีแคน และถั่วบราซิล 3.7-4.1 มิลลิกรัม
• ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง และถั่วแดง 3-4 มิลลิกรัม
• เชดดาร์ชีส 3.6 มิลลิกรัม
• เนื้อปูกระป๋อง 2.2 มิลลิกรัม
• ไข่ 1.2 มิลลิกรัม